7. วิธีการสร้างบทความ

วิธีการสร้างบทความ
การสร้างบทความใหม่ สามารถทำได้ 2 ทางคือ
แบบที่ 1 คลิกเลือกจากหน้า บล็อก ในเมนู บทความใหม่  หรือ
แบบที่ 2  เลือกจากเมนู การออกแบบ > การส่งบทความ >บทความใหม่


ส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการเขียนบทความ
  • ส่วนที่ 1  คือส่วนตั้งชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ
  •   ส่วนที่ 2  เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกรณีที่เราต้องการวางข้อความที่คัดลอกมาจาก Ms word  หรือโค้ดวีดีโอจาก Youtube หรือโค้ด HTML/จาวาสคริปต์ที่ต้องการให้ปรากฎและแสดงผลในบทความ
  •   ส่วนที่ 3 เป็นแถบที่เลือกเมื่อต้องการเขียนข้อความปกติซึ่งจะมีเครื่องมือในการเขียนบทความ
  •   ส่วนที่ 4  สำหรับจัดรูปแบบอักษร
  •   ส่วนที่ 5   เป็นเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้ข้อความ  แทรกภาพลงในบทความ และแทรกวีดีโอลงในบทความ
  • ส่วนที่ 6 รูปกระดาษขาดที่เห็นนั้นใช้ในกรณีที่คุณต้องการแสดงบทความให้ผู้อ่านเห็นในหน้าหลักเพียงบางส่วนเท่านั้น และถ้าใช้เครื่องมือนี้ผู้อ่านจะต้องคลิกอ่านเพิ่มเติมจึงจะเห็นข้อความแบบเต็ม  เครื่องมือนี้มีข้อดีคือทำให้บทความที่มีความยาวมาก ๆ สั้นลงได้ และทำให้เปิดหน้าแรกได้เร็วขึ้นด้วย
  •   ส่วนที่ 7 เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเรียงข้อความ และจัดแนวรูปภาพได้ด้วย
  •  ส่วนที่ 8 ได้แก่การใส่ การเน้นข้อความ การลบรูปแบบ การตรวจสอบการสะกดคำ และการแปลภาษา
  •  ส่วนที่ 9 เป็นส่วนที่ใช้ในการวางกำหนดเวลาล่างหน้าว่าจะให้บทความที่เขียนเผยแพร่ในวันใด
  • ส่วนที่ 10 เป็นการใส่ป้ายกำกับ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ระบุว่าบทความที่เขียนนี้อยู่ในหมวดหมู่ใด ซึ่งสามารถใส่ได้มากกว่า 1 ป้ายกำกับโดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค และสามารถเลือกป้ายกำกับที่คุณเคยใส่ให้บทความอื่นไปแล้วมาใส่อีกได้ เพื่อทำให้บทความนั้น ๆ อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน
  • ส่วนที่ 11  เป็นการเลือกว่าจะบันทึกไว้ก่อน หรือจะเผยแพร่ มีประโยชน์ในกรณีที่บทความที
    เขียนใช้เวลาเขียนนานมากก็อาจจะบันทึกเอาไว้ก่อนแล้วมาเขียนต่อในภายหลังได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น